เก๋ากี้ Chinese Wolfberry
เก๋ากี้ เป็นผลของต้นเก๋ากี้ เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้รับประทานกันในหมู่ชาวจีน ผลที่สุกแล้วจะมีสีแดงเหมือนเลือด จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ฮ่วยกี้" เป็นยาบำรุงชั้นดี ในอดีต เป็นผลไม้บรรณาการที่ใช้ถวายแด่ฮ่องเต้
เก๋ากี้มีปลูกทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่ปลูกในมณฑล หนิงเซี่ย กานซู่ เหอเป่ย ส่านซี เก๋ากี้ที่ดีต้องมีเม็ดใหญ่ สีแดง เนื้อหนา อ่อนนิ่ม รสหวาน การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ระวังอย่าให้ชื้น มิฉะนั้นจะทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือขึ้นรา ส่วนที่ใช้ : ส่วนที่ใช้กันมากคือเมล็ด
สารสำคัญ : แคโรทีน, ไทอามีน, วิตามิน ซี เอ และบี 2, น้ำตาล, โปรตีน
สรรพคุณ : แก้ไอ วิงเวียนศีรษะ บำรุงไต เลือด ตับ และสายตา ใน Compendium of Materia Medice ของจีน บันทึกไว้ว่า เก๋ากี้ บำรุงไต บำรุงปอด บำรุงสายตา รักษาโรคตาบอดกลางคืน
“เก๋ากี้” สมุนไพรจีน
อานุภาพทรงพลังลดน้ำตาลในเลือด-ความดันโลหิต
เก๋ากี้ สมุนไพรเม็ดแดงๆที่เมื่อบิออกดูด้านในแล้ว จะพบกับเม็ดเล็กๆสีขาวๆ อยู่ภายในเม็ดเก๋ากี้ แต่ก็สามารถรับประทานได้ทั้งเม็ดโดยไม่ส่งผลเสียใดๆต่อสุขภาพ ภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวถึงเก๋ากี้ไว้ว่า "เก๋ากี้โลกอยู่ที่เมืองจีน เก๋ากี้จีนต้องที่หนิงเซี่ย" อธิบายความให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตเก๋ากี้ที่สำคัญของจีนและของโลกเก๋ากี้ที่มานำสกัดเป็นตัวยานั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นยาที่มีสรรพคุณนานัปการ ทำให้ชาวจีนตระหนักถึงความจำเป็นในการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ จึงมีการคิดค้นวิธีการเพาะชำขึ้นมาราว 600 ปีก่อนหน้านี้
มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ดวงตามีความกระจ่างใส ลดความดันโลหิต สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดอาการตาฝ้าฟางและกระหายน้ำในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชะลอความแก่ บรรเทาความเหนื่อยล้ากำจัดพิษ บำรุงระบบสืบพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ฯลฯ
สำหรับโรคที่พบเห็นบ่อยอย่างความดันโลหิตสูง สามารถต้มเก๋ากี้ 15 กรัมกับน้ำ ดื่มแทนน้ำชา หรือผู้ที่เป็นโรคสายตาฝ้าฟางในตอนกลางคืน ความสามารถในการมองเสื่อม ช่วยบรรเทาอาการสายตาฝ้าฟางและชะลอความแก่ ทั้งนี้จะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาระยะหนึ่ง จึงเกิดประสิทธิภาพ
ตัวสมุนไพรมีฤทธิ์ร้อน เก๋ากี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ
ผลการวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า เก๋ากี้เป็นสมุนไพรที่ปลอดสารพิษ สามารถใช้ประกอบอาหารหรือสกัดเป็นตัวยาและใช้เป็นเวลานานโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น